1. หน้าหลัก AroundBKK
  2. / บทความ
  3. / WORK & THINGS
  4. / คลังสินค้า (Warehouse) เพื่อการดำเนินธุรกิจ

คลังสินค้า (Warehouse) เพื่อการดำเนินธุรกิจ

Published on กันยายน 4, 2022
SHARE

เพื่อการบริหารและการจัดการกับสินค้าและวัตถุดิบในธุรกิจของคุณ ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและเป็นระบบระเบียบมากขึ้น คลังสินค้า (Warehouse) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจแทบทุกประเภท นับตั้งแต่การรับสินค้าเข้าไปจนถึงการจ่ายสินค้าออกมา ซึ่งการจัดการคลังสินค้าเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ดี จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดระบบสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ช่วยลดข้อผิดพลาด ลดต้นทุน ลดปริมาณสินค้าค้างสต๊อก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ส่งผลต่อยอดขายที่ดีขึ้นได้อีกด้วย

คลังสินค้า (Warehouse)

คลังสินค้าคืออะไร?

คลังสินค้า หรือ Warehouse คือ สถานที่สำหรับใช้ในการเก็บรักษาสินค้าหรือวัตถุดิบให้อยู่ในสภาพดี มีความพร้อมที่จะใช้งาน พร้อมที่จะเคลื่อนย้ายหรือส่งมอบต่อให้กับลูกค้าได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนด้านการผลิตและการกระจายสินค้า เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับธุรกิจประเภทที่ต้องมีการผลิต หรือธุรกิจประเภทซื้อมาขายไป ซึ่งการจัดการคลังสินค้าที่ดียังช่วยลดต้นทุนและทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือไม่ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย

หน้าที่ของคลังสินค้าและระบบการจัดการคลังสินค้า

ระบบการจัดการ คลังสินค้า

สำหรับหน้าที่และระบบการจัดการหลัก ๆ เลยก็คือ การรับสินค้าเข้ามาแล้วทำการควบคุมรับผิดชอบต่อสินค้าที่ถูกจัดเก็บอยู่ภายในคลัง โดยทำการคัดแยกสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ ควบคุมงานทางด้านเอกสารเกี่ยวกับสินค้าภายในคลัง กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบในกรณีที่เกิดการสูญหายหรือความเสียหายกับสินค้า และหน้าที่ในการส่งมอบกระจายสินค้าให้กับผู้ผลิตหรือลูกค้า ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีการใช้ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management) เริ่มตั้งแต่กระบวนการรับสินค้าเข้าสู่คลังไปจนกระทั่งการนำสินค้าออกจากคลัง เพื่อเข้ามาช่วยจัดการในส่วนต่าง ๆ ของคลังให้เป็นระบบระเบียบ ง่ายต่อการจัดการ และง่ายต่อการดูแลรักษาด้วย

ระบบการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)

ระบบการจัดการ คลังสินค้า หรือ Warehouse Management

การที่คลังสินค้าจะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จะต้องมีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งระบบการจัดการคลังสินค้าหรือ Warehouse Management คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการหรือการบริหารคลังสินค้า โดยกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่การรับสินค้าเข้าคลังไปจนถึงการนำสินค้าออกจากคลัง ประกอบไปด้วยกระบวนการหลัก ๆ ก็คือ การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า และการเบิกสินค้า โดยระบบการจัดการนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อบริหารและดำเนินธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยให้การจัดเก็บสินค้าภายในคลังสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นระบบ และลดต้นทุนในกระบวนการจัดการให้ได้มากที่สุดเช่นกัน

ประโยชน์ของคลังสินค้าเพื่อการทำธุรกิจ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของคลังสินค้าเพื่อการดำเนินธุรกิจนั้น ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถทำให้กลไกในการผลิตและการจำหน่ายสินค้าดำเนินไปได้อย่างราบรื่นกว่าที่คิด

1. มีสินค้าและวัตถุดิบพร้อมอยู่เสมอ

คลังสินค้าเป็นพื้นที่ให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบของตนได้เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการเก็บสินค้าคงคลังส่วนเกิน สินค้าที่มีการจำหน่ายเป็นช่วงเวลา โดยสามารถเก็บและกักตุนวัตถุดิบรวมไปถึงสินค้าเหล่านั้นเอาไว้ได้ก่อน จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถดำเนินการผลิตและจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน และไม่เสียโอกาสทางการค้า

2. เพิ่มพื้นที่ในการทำงาน

การใช้คลังสินค้าทำให้เจ้าของธุรกิจไม่ต้องเก็บสินค้าเอาไว้ในพื้นที่ที่เป็นส่วนของการทำงาน ซึ่งการนำวัตถุดิบหรือสินค้าไปจัดเก็บเอาไว้ในคลังเพื่อรอการผลิตและจำหน่าย จะทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถใช้พื้นที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องแบ่งพื้นที่ที่เป็นส่วนของการทำงานเอาไว้สำหรับการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ อีกทั้งยังเป็นระบบระเบียบและมีความปลอดภัยมากกว่าด้วย

3. ความปลอดภัยในการเก็บรักษา

โดยปกติแล้วคลังสินค้าจะมีในส่วนของมาตรการด้านความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นกรณีน้ำท่วม ไฟไหม้ รวมไปถึงการโจรกรรม นอกจากนี้ยังมีระบบสำหรับการจัดเก็บที่ทันสมัยและเหมาะสมสำหรับการจัดเก็บสินค้าและวัตถุดิบนั้น ๆ อย่างเช่นคลังสินค้าห้องเย็นหรือคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ เพื่อเก็บรักษาวัตถุดิบหรือสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย ป้องกันข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่อาจทำให้วัตถุดิบหรือสินค้าเสื่อมคุณภาพให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้คลังสินค้ายังมีการประกันและชดเชยในกรณีที่สินค้าหรือวัตถุดิบเสียหายหรือสูญหายอีกด้วย

4. ทำเลสะดวกต่อการทำธุรกิจ

โดยทั่วไปแล้วคลังสินค้าจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมหรือตามเขตของเมืองในทำเลที่ง่ายและสะดวกต่อการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งด้วยรถบรรทุก ทางเรือ รถไฟ หรือสนามบิน ซึ่งนอกจากจะสะดวกรวดเร็วในการขนส่งแล้ว ก็ยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถลดต้นทุนและเพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งสินค้าหรือวัตถุดิบเหล่านั้นได้อีกด้วย

5. มีประโยชน์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

สำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก การลงทุนสร้างคลังสินค้าของตนเองถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเงินที่ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถจ่ายได้ หรืออาจจะเป็นการลงทุนที่ยังไม่คุ้มค่าในขณะนั้น เมื่อธุรกิจขนาดเล็กมีความจำเป็นที่จะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ ก็สามารถเลือกลงทุนเพียงเล็กน้อยด้วยการเช่าคลังสินค้าเอาไว้เก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าของตนเองได้

ดังนั้นคลังสินค้าจึงมีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจที่ต้องมีพื้นที่เพื่อการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบ เพราะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการไปได้ตลอด ทุกช่วงเวลา ช่วยป้องกันความผันผวนของราคาสินค้าที่เกิดขึ้นได้ในแต่ละช่วง สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายขนส่ง และที่สำคัญคือทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถตรวจสอบสินค้าคงคลัง รวมไปถึงการคัดแยกบรรจุสินค้าเพื่อเตรียมการขนส่งได้อย่างสะดวกและประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตและการจำหน่าย รวมไปถึงการกระจายสินค้าให้กับธุรกิจของคุณได้อย่างแน่นอน

Related Blog

แจก 5 แอป To-Do-List สุดปัง ช่วยจัดระเบียบชีวิตให้ดีกว่าเดิม

WORK & THINGS

แจก 5 เว็บไซต์หางาน Marketing ได้งานตอบโจทย์ ได้เงินตรงใจ

WORK & THINGS

อัปเดตปฏิทินด่วน! รวมวันหยุด 2567 ตามแบงก์ชาติ

WORK & THINGS